วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเทียวจังหวัดสมุทรปราการ

พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ







ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในเขตตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตามประวัติกล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองจัดสร้างป้อมปราการจำนวน 6 ป้อม ใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งหมด ๓ ปีจึงแล้วเสร็จ เมื่อสร้างป้อมเสร็จแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับเจ้าพระยาพระคลัง เป็นผู้อำนวยการสร้างพระเจดีย์ขึ้นที่เกาะหาดทรายท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ เพื่อปกป้องประเทศชาติและพระศาสนา โดยโปรดฯ ให้กรมพระราชวังสถานมงคลมหาศักดิพลเสพ กับพระยาราชสงครามเขียนแบบแผนผังรูปพระเจดีย์ถวาย แล้วทรงเฉลิมพระนามว่า “ พระสมุทรเจดีย์ ”




แต่ยังมิได้ทันก่อสร้างก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีธรรมราชกับเจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองจัดสร้างต่อการก่อสร้างเริ่มเมื่อวันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 (ตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370) แล้วเสร็จเมื่อวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 (ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2371) ลักษณะขององค์พระสมุทรเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลนี้เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ต่อมาได้มีผู้ร้ายลักลอบขุดองค์ระฆังลักเอาพระบรมธาตุที่บรรจุอยู่ภายใน







สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์ที่กรุงศรีอยุธยามาจัดการก่อสร้างสวมทับพระเจดีย์รูปเดิมไว้ โดยลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลมวัดจากฐานล่างจนถึงยอดสูงสุด 19 วา จากนั้นจึงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ 12 องค์ จากพระบรมมหาราชวังมาบรรจุไว้แทนของเดิมที่สูญหายไป ในการนี้ได้โปรดฯให้สร้างศาลาเก๋งจีน หอเทียน หอระฆัง พระวิหารพร้อมด้วยพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร กับหลักผูกเรือริมน้ำรอบองค์พระสมุทรเจดีย์ ฯลฯ สิ้นพระราชทรัพย์ในการก่อสร้าง 588 ชั่งเศษ และในรัชกาลต่อมาก็ได้มีการทำนุบำรุง และบูรณะปฏิสังขรณ์พระสมุทรเจดีย์มาโดยตลอด กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระสมุทรเจดีย์เป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2487 และเล่ม 110 ตอนที่ 186 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2536


รถเมล์ที่ผ่าน


สาย 511 ( ปอ 11 เดิม ) จากสายใต้ใหม่ ไปลงที่ศาลากลางจังหวัด


สาย 507 จากสายใต้ใหม่ ไปลงที่ศาลากลางจังหวัด


สาย 536 จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปลงที่ศาลากลางจังหวัด


สาย 25 จากท่าช้าง ไปลงที่ศาลากลางจังหวัด



จากนั้นนั่งเรือข้ามฟาก

เรือข้ามฟากในตลาด ค่าบริการท่านละ 3 บาท

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ช้างเอราวัณ

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 12 ไร่ ของบริษัท ธนบุรีประกอบยนต์ จำกัด ตำบลบางเมืองใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างจากแรงบันดาลใจ และความคิดของ คุณเล็ก วิริยะพันธ์ ผู้สร้างเมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ และปราสาทสัจธรรม เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลปวัตถุ มรดกทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ และเพื่อสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบชั่วลูกชั่วหลานสืบไป ช้างเอราวัณหรือช้างสามเศียร เป็นประติมากรรมลอยตัวด้วยวิธีเคาะมือแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำจากโลหะทองแดง แผ่นเล็กสุดขนาดเท่าฝ่ามือนำมาเรียงต่อกันด้วยความประณีตนับแสนชิ้น ตัวช้างรวมอาคารมีความสูง 43.60 เมตร (หรือสูงขนาดตึก14-17ชั้นโดยประมาณ) อาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนบนของตัวช้าง เฉพาะส่วนหัวมีน้ำหนักประมาณ 100 ตัน ลำตัวช้างหนัก 150 ตัน สูง 29 เมตร กว้าง 12 เมตร และยาว 39 เมตร ตัวช้างออกแบบให้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัตถุมีค่า เช่น ภาพวาดสีฝุ่นรูปจักรวาล พระพุทธรูปปางลีลา บริเวณท้องช้างปูด้วยไม้มะเกลือสีออกดำ ส่วนล่างของตัวช้าง เป็นฐาน โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารศาลามีความสูง 14.60 เมตร กระจายน้ำหนักตัวช้างด้วยคานวงแหวนรอบนอกและรอบในบนอาคาร ถ่ายน้ำหนักลงเสาแปดเสาภายนอกและสี่เสาภายในอาคารศาลาการตกแต่งภายในเป็นการ ผสมผสานศิลปะหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้กระจกสีแบบศิลปะตะวันตก, เครื่องเบญจรงค์สลับลวดลายสอดสี, การดุนโลหะบนแผ่นดีบุกของช่างเมืองนครศรีธรรมราช และรูปปั้นโบราณชนิดต่าง ๆ อาทิ คนธรรพ์บรรเลงดนตรี รูปพญานาค ของช่างเมืองเพชร ส่วนชั้นใต้ดินที่เรียกว่า “ชั้นบาดาล” เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการและโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ พระพุทธรูป เทวรูปสมัยต่าง ๆ และเครื่องลายครามของจีน ระเบียงรอบนอกตัวอาคารประกอบด้วยซุ้มแปดซุ้ม รอบพิพิธภัณฑ์เป็นอุทยานพรรณไม้ในวรรณคดี และพันธุ์ไม้หายากจากทุกภูมิภาคของประเทศ มีงานประติมากรรมลอยตัวเรื่อง รามเกียรติ์ วางเรียงรายล้อมรอบอาคาร
Read more: http://www.paknam.com/thai/chang-erawan.html#ixzz0x8OsT3Na

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง

ตลาดน้ำบางผึ้ง เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัด



สมุทรปราการ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของชาวบ้านร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และ อบต.บางน้ำผึ้ง เพื่อส่งเสริมการท่อง


เที่ยวเชิงอนุรักษ์และสนับสนุนให้ชาวบ้านมีรายได้จากการนำผลผลิตในท้องถิ่นของตนเองมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้


้ และก่อให้เกิดการสร้างงานภายในชุมชน ส่งผลทำให้ชุมชนเข้มแข็งมากขึ้นจะมีเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ เริ่มเปิด


ตลาดประมาณแปดโมงเช้าเป็นต้นไปจนถึงเย็น ๆ เป็นตลาดน้ำที่ใกล้กรุงเทพ ซึ่งคุณจะเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านริมคลอง


พ่อค้าแม่ค้าหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ซึ่งถือว่าเป็นตลาดน้ำเพื่อสุขภาพอีกแห่งหนึ่ง เพราะไม่ว่าใครได้มาเที่ยวที่


ี่ตลาดน้ำบางผึ้ง นอกจากจะได้สัมผัสวิธีชีวิตริมน้ำของชาวพระประแดงแล้ว ก็ยังได้สัมผัสกับกิจกรรมทั้งในเรื่องของ


สุขภาพกาย และสุขภาพใจอีกด้วย เพราะว่าพ่อค้า แม่ค้า ที่นี่นอกจากจะเอาใจใส่เรื่องของคุณภาพของสินค้าแล้ว ก็ยังและยังมีและผลิตผลของชาวบ้านเช่น มะพร้าวอ่อน มะม่วง น้ำดอกไม้ กล้วยหอม ชมพู่มะเหมี่ยว นอกจากนี้ใน



ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งศูนย์รวมสินค้า OTOP ที่สร้างสรรค์จากคนในชุมชนบางน้ำผึ้ง และตำบลใกล้เคียงในจังหวัด


สมุทรปราการ เช่น ดอกไม้เกล็ดปลาบ้านธูปสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากทะเลอย่างกุ้งแห้ง กะปิ หอยดอง ภาพประดิษฐ์


์จากรกมะพร้าว ของตกแต่งบ้าน – ดอกหญ้าหลากสี,โมบายล์ ลูกตีนเป็ดรูปร่างแปลกตา ใครจะนั่งชมบรรยากาศตลาดริมน้ำ พร้อมทั้งรับประทานอาหารอร่อย ๆ ที่มีให้เลือกทั้งก๋วยเตี๋ยวหมู เย็นตาโฟ



บะหมี่หมูแดง ราดหน้า กระเพาะปลา ข้าวตู หมี่กรอบ ข้าวหน้าต่าง ๆ ขนมจีน น้ำยา น้ำพริกหรือจะเลือกผสมกับแกง


แกล้มกับผักสดผักดอง แม่ค้าพ่อขายจะลอยลำเรือ พร้อมรับ รายการอาหารจาก นักท่องเที่ยว ซึ่งจะมาเป็นครอบครัว


หรือหมู่คณะ จับจองเก้าอี้ไม้ตัวเตี้ย นั่งพูดคุยและชมบรรยากาศตลาดริมน้ำและสวนเกษตร ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์


หรือเช่าเรือพายชมสวนและตลาดน้ำ ถ้าพายเป็นจะพายเองก็ได้ เสียค่าเช่าชั่วโมง นั่งเรือลัดเลาะชมพื้นที่สีเขียว
และใครที่เดินชมตลาดจนเมื่อยจะแวะพักนวดตัว นวดเท้า ทางชุมชนก็จัดหมอนวดมือทองไว้บริการนักท่องเที่ยว



รับรอง หรือจะนั่งพักผ่อนคลายอารมณ์ในสวนที่จัดขึ้นพร้อมมีดนตรีให้ทุกท่านได้ฟังกันด้วย หากสนใจจะเรียนรู้วิถีชีวิต


ู้ชุมชนชาวสวน จะพักค้างคืนที่ โฮมสเตย์บางน้ำผึ้ง เป็นบ้านพักที่ปลูกอาศัยติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา บางหลังอยู่ติดริม


คลองบางน้ำผึ้งสามารถกางเต็นท์นอนได้ มีบ้านไทยโบราณอายุกว่า 100 ปี เลือกพักตามความชอบและเหมาะสมกับ


นักท่องเที่ยว
2 ฝั่งคลอง มีทั้งป่าจาก สวนมะม่วง และมะพร้าว มีบริการจักรยานให้เช่าด้วย
ไม่ลืมที่จะใส่ภูมิปัญญาไทยๆ อย่างอาทิ สมุนไพรลงไปในสินค้า เมื่อบวกกับมิตรจิต มิตรใจ โอมอ้อมอารีของคนใน


ชุมชนตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ก็ถือเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของตลาดน้ำแห่งนี้


ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งจะจัดเป็นซุ้มให้มีทางเดินยาวกว่า 2 กิโลเมตร ขนานไปกับคลองซอยสายเล็ก ๆ ที่แตกแขนง



จากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในพื้นที่ที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน จัดจำหน่ายต้นไม้นานาพันธุ์ ปลาสวยงามหลากชนิด ก่อนมาที่ตลาดน้ำแห่งนี้ทำท้องให้ว่างไว้ดีที่สุด เพราะว่าอาหารการกินที่นี่หลากหลายมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กระเพาะปลา


รังนก ก๋วยเตี๋ยว และยังมีอาหารที่เราไม่ค่อยจะพบกันบ่อยนักแต่ว่าอย่าพึ่งทานให้อิ่มทีเดียวเพราะว่ายังมีอาหารที่ไม่ได้


ขายในท้องตลาดทั่วไปอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น ขนมครกหอยทอด ทอดมันปลา หมึกไข่เสียบไม้ห่อด้วยใบตอง แจงรอน


ห่อหมกู ลูกชิ้นโบราณมีทั้งไส้กุ้ง หมู เผือก แครอท หน้าตาไม่ค่อยคุ้นเท่าซักเท่าไหร่นัก หวานพื้นเมืองฝีมือ ชาวบ้าน


เช่น ขนมถ้วย ขนมจาก กล้วยแขก ม้าฮ่อ ขนมตระกูลทอง กาละแมกวน ฝอยเงินที่ใช้ไข่ขาวต้มในน้ำเชื่อมรสหวาน


ชุ่มคอ หมี่กรอบโบราณ ฯลฯ แต่ว่าอาหารยังไม่หมดเท่านี้ส่วนที่เหลือคงต้องไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง